วันอังคารที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2557

โครงงาน (กลุ่ม)






โครงงานวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี
เรื่อง ขนมบัวลอยไข่เต่าเหล่าคนไทย


 




จัดทำโดย


นาย นาย ปฐมพร ดุลยรัตน์ เลขที่ 5 (หัวหน้า)


นางสาว อรนิดา วรรณรัตน์ เลขที่ 12 (รองหัวหน้า)


นางสาว ธิดารัตน์ รอดวิบาก เลขที่ 8 (เหรัญญิก)


นางสาว ชนากานต์ สุขะ เลขที่ 14 (ปฏิคม)


นาย พชรพลเพ็ชรสินธพ เลขที่ 13 (เลขานุการ)


ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1

 



เสนอ

อาจารย์  ศิริรัตน์  ปานสุวรรณ










http://topicstock.pantip.com/sinthorn/topicstock/2011/04/I10444566/I10444566-20.jpgโรงเรียนตราดสรรเสริญวิทยาคม



                                                                          บทคัดย่อ
โครงงาน ขนมบัวลอยไข่เต่าเหล่าคนไทย
ผู้จัดทำ    นาย นาย ปฐมพร ดุลยรัตน์ เลขที่ 5 (หัวหน้า)
  นางสาว อรนิดา วรรณรัตน์ เลขที่ 12 (รองหัวหน้า
  นางสาว ธิดารัตน์ รอดวิบาก เลขที่ 8 (เหรัญญิก)
  นางสาว ชนากานต์ สุขะ เลขที่ 14 (ปฏิคม)
   นาย พชรพลเพ็ชรสินธพ เลขที่ 13 (เลขานุการ)
ครูที่ปรึกษาโครงงาน อาจารย์ ศิริรัตน์ ปานสุวรรณ
สถานที่ศึกษา โรงเรียนตราดสรรเสริญวิทยาคม
                เนื่องจากในสมัยโบราณคนไทยจะทำขนมเฉพาะวาระสำคัญเท่านั้น เช่น งานทำบุญ เทศกาลสำคัญ หรือต้อนรับแขกสำคัญ เพราะขนมบางชนิดจำเป็นต้องใช้กำลังคนอาศัยเวลาในการทำพอสมควร ส่วนใหญ่เป็น ขนบประเพณี เป็นต้นว่า ขนมงาน เนื่องในงานแต่งงาน ขนมพื้นบ้านในเทศกาลต่างๆ ในปัจจุบัน ขนมไทยมีอัตราน้อยลงในงานพิธีต่างๆ เพราะ มีการรับวัฒนธรรมของต่างชาติเข้ามา จนทำให้ขนมไทยขาดความเป็นที่นิยม การจัดทำโครงงานนี้เพื่อเป็นสื่อการเรียนรู้และเป็นการนำเสนอขนมไทยให้กลับมาในยุคที่ขนมไทยขาดหายไป ให้กลับมานิยมเจริญรุ่งเรืองอีกครั้ง เราจึงยกตัวอย่างขนมไทยที่มีความเป็นเอกลักษณ์ในตัวเองมีความสำคัญในงานเทศกาลต่างๆของประเพณีไทย เพื่อกระจายความรู้และวิธีการทำขนมบัวลอยไข่เต่า





กิตติกรรมประกาศ
โครงงานเรื่องขนมบัวลอยไข่เต่าเหล่าคนไทย นี้มีที่มา สำเร็จลงได้ด้วยความกรุณาของคุณครู ขอขอบคุณครูที่ปรึกษาโครงงานคือ ครู ศิริรัตน์ ปานสุวรรณ ที่กรุณาให้คำแนะนำในการจัดทำโครงงาน แนะนำการสืบค้นข้อมูลด้วยอินเทอร์เน็ต
ท้ายที่สุดขอกราบขอบพระคุณ คุณพ่อ คุณแม่และญาติทุกท่าน ที่กรุณาให้ข้อมูลรวมทั้งสนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์และให้กำลังใจในการทำโครงงาน จนสำเร็จลงด้วยดี
ข้าพเจ้าหวังว่ารายงานโครงงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจ สำหรับเป็นแนวทางในการจัดทำรายงานโครงงานต่อไป

                                                               
                                                                                                                                คณะผู้จัดทำ










สารบัญ
เรื่อง                                                                                                                 หน้า
บทที่1                                                                                                                                                    1
 -ที่มาและความสำคัญ
 -วัตถุประสงค์                                                                                    
บทที่2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง                                                                                                                  2
 -ส่วนผสม
 -วิธีการทำ
 -H&C Tip                                                                                                                                           3
บทที่3 ขั้นตอนและวิธีการดำเนินงาน                                                                                            4
 -วิธีการดำเนินงาน
 -เครื่องมือและอุปกรณ์
บทที่4 ผลการดำเนินงาน                                                                                                                   5
บทที่5 สรุปผลอภิปรายการดำเนินการ                                                                                            6
 -สรุปผล
-ปัญหาและอุปสรรค
-ข้อเสนอแนะ



  บทที่ 1
บทนำ
ที่มาและความสำคัญ
                ในสมัยโบราณคนไทยจะทำขนมเฉพาะวาระสำคัญเท่านั้น เช่น งานทำบุญ เทศกาลสำคัญ หรือต้อนรับแขกสำคัญ เพราะขนมบางชนิดจำเป็นต้องใช้กำลังคนอาศัยเวลาในการทำพอสมควร ส่วนใหญ่เป็น ขนบประเพณี เป็นต้นว่า ขนมงาน เนื่องในงานแต่งงาน ขนมพื้นบ้านในเทศกาลต่างๆ ในปัจจุบัน ขนมไทยมีอัตราน้อยลงในงานพิธีต่างๆ เพราะ มีการรับวัฒนธรรมของต่างชาติเข้ามา จนทำให้ขนมไทยขาดความเป็นที่นิยม การจัดทำโครงงานนี้เพื่อเป็นสื่อการเรียนรู้และเป็นการนำเสนอขนมไทยให้กลับมาในยุคที่ขนมไทยขาดหายไป ให้กลับมานิยมเจริญรุ่งเรืองอีกครั้ง เราจึงยกตัวอย่างขนมไทยที่มีความเป็นเอกลักษณ์ในตัวเองมีความสำคัญในงานเทศกาลต่างๆของประเพณีไทย เพื่อกระจายความรู้และวิธีการทำขนมบัวลอยไข่เต่า
วัตถุประสงค์
เพื่อสร้างสื่อ powerpointเรื่อง ขนมบัวลอยไข่เต่าเหล่าคนไทย
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.             เพื่อรู้จักสูตรและกลวิธีการทำ
2.             เพื่อให้รู้จักการรักษาขนมไทย







บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
ขนมไข่เต่ามีไส้เป็นถั่วผัดรสชาติแบบไทยๆคล้ายไส้ขนมเทียน  ห่อด้วยแป้งข้าวเหนียวนวดกับน้ำเนื้อนุ่มหยุ่น  ปั้นเป็นก้อนกลมหน้าตาเหมือนบัวลอยน้ำขิง  ใส่ในน้ำกะทิรสหอมหวาน  เป็นขนมรสละไมแบบโบราณที่อร่อยไปอีกแบบ
ส่วนผสมไข่เต่า  (ประมาณ 30 ลูก)
  • ถั่วทอง(ถั่วเขียวกะเทาะเปลือก) 250 กรัม
  • แป้งข้าวเหนียว 250 กรัม
  • หัวกะทิ  1  ถ้วย
  • หอมแดงสับละเอียด 4 หัว
  • พริกไทยป่น 1 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำตาลทราย  2 ช้อนโต๊ะ
  • เกลือป่น  2 ช้อนชา
ส่วนผสมน้ำกะทิ
  • หางกะทิ  3 ถ้วย
  • น้ำตาลทราย  1/2 ถ้วย
  • หัวกะทิ  1 ถ้วย
  • งาดำคั่วและถั่วลิสงคั่วสำหรับโรยหน้า
วิธีทำ 
1.             แช่ถั่วทองค้างคืนไว้หรือประมาณ 5 ชั่วโมง นึ่งให้สุก (หรือจะใช้วิธีลัดหุงด้วยหม้อหุงข้าว โดยใส่น้ำให้สูงประมาณ 2 ข้อนิ้ว)
2.             ผัดถั่วที่สุกแล้วกับหัวกะทิ เมื่อเริ่มงวดใส่หอมแดง พริกไทย น้ำตาลทรายและเกลือ ผัดจนส่วนผสมเนียนและร่อนจากกระทะ แต่ระวังอย่าให้แห้งเกินไป ชิมรส ตักขึ้นพักไว้ให้เย็น จากนั้นปั้นถั่วให้เป็นก้อนกลมประมาณหัวแม่มือ พักไว้
3.             นวดแป้งข้าวเหนียวกับน้ำเปล่าให้เนียนเป็นเนื้อเดียวกัน(ค่อยๆเติม น้ำทีละน้อยระหว่างนวด) ปั้นเป็นก้อนกลมให้ใหญ่กว่าไส้เล็กน้อย กดให้แบนลงเป็นแผ่นบาง วางไส้ถั่ว ตรงกลาง ห่อแป้งให้มิด คลึงเป็นก้อนกลม  
4.             นำไข่เต่าไปต้มในน้ำเดือด เมื่อสุกแล้วแป้งจะลอยขึ้น ตักขึ้นแช่น้ำเย็นไว้ เพื่อไม่ให้ไข่เต่าติดกัน 
5.             นำหางกะทิตั้งไฟให้ร้อน(ใช้ไฟอ่อน) ใส่น้ำตาลทรายคนให้ละลาย ใส่ไข่เต่าที่ต้มไว้ จากนั้นเติมหัวกะทิลงไป คนให้เข้ากัน ตักใส่ถ้วยเสิร์ฟโรยด้วยงาดำและถั่วลิสงคั่ว
H&C Tip
- ถั่วทองหรือถั่วเขียวกะเทาะเปลือก จะเรียกได้หลายชื่อ เม็ดเล็กสีเหลือง แต่ โบราณมักเรียกถั่วนี้ว่า ถั่วเหลืองซีก ระวังอย่าสับสนกับถั่วเหลืองที่นำไปทำน้ำเต้าหู้
- ไส้ไข่เต่าควรปรุงให้มีรสค่อนข้างจัด
- ถ้าใช้น้ำอุ่นนวดแป้งข้าวเหนียว จะช่วยให้นวดแป้งและปั้นได้ง่ายขึ้น












บทที่ 3
ขั้นตอนและวิธีการดำเนินงาน
วิธีการดำเนินงาน
1.             ประชุมเรื่องหัวข้อที่จะดำเนินงาน
2.             ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับหัวข้อเรื่องที่เราได้ประชุมกันมา
3.             ปรึกษาเรียบเรียงทำรายงาน Microsoft Word
4.             ทำสื่อเพื่อการเรียนรู้ powerpoint
5.             ดำเนินงาน
6.             สรุปผลการทำงาน
7.             นำเสนอ
เครื่องมือและอุปกรณ์
1.             คอมพิวเตอร์
2.             อินเตอร์เน็ต
3.             โปรแกรม powerpoint
4.             โปรแกรม powerpoint







บทที่ 4
ผลการดำเนินงาน
                                                                                                                                                               
          จากการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับขนมบัวลอยไข่เต่า จากเว็บไซต์ต่างๆจึงได้จัดทำสื่อด้วยโปรแกรม power point เรื่องขนมบัวลอยไข่เต่าเหล่าคนไทย ได้จำนวน 14 สไลด์ แบ่งเป็นเนื้อหา 5 สไลด์ และคำถามทบทวน 5 สไลด์ ดังนี้














บทที่5
สรุปผลอภิปรายการดำเนินการ
ผลสรุป
1.             ได้รับความรู้จากการทำขนมบัวลอยไข่เต่า
2.             ได้รู้ส่วนผสมในการทำขนมบัวลอยไข่เต่า
3.             สามารถทำสื่อสไลด์โชว์ได้อย่างสวยงาม
ปัญหาและอุปสรรค
        จากการทำโครงงานในครั้งนี้ทำให้ดิฉันรู้ว่าการทำงานเป็นทีมเวิร์กไม่ใช่เรื่องง่าย ในการศึกษาค้นคว้าดูประสบการณ์ของผู้ร่วมงานเป็นสิ่งที่ต้องคำนึง ถ้าไม่คำนึงถึงผลกระทบในโครงงานครั้งนี้คือ ทำให้หัวหน้างานแบ่งลูกน้องแบบไม่รู้ว่าลูกน้องไม่สามารถทำงานนั้นได้แต่สามารถทำงานอื่นได้ และผู้ได้รับหน้าที่นั้นจะไม่สามารถทำงานนั้นได้อย่างสมบูรณ์แบบตามอย่างที่คาดไว้ ทำให้เกิดความเชื่องช้าในการทำโครงงานอย่างมาก
ข้อเสนอแนะ
1.             ควรประชุมสอบถามหน้าที่ให้ดีและแบ่งหน้าที่ให้ชัดเจน
2.             ควรคำนึงถึงเวลาในการทำโครงงานให้ดีหรือทำตารางการทำงานไว้
3.             ควรศึกษาหัวเรื่องในการทำโครงงานให้ดีเสียก่อนลงมือปฏิบัติ




บรรณานุกรม